ประเพณีวิ่งควาย
สงสัยหรือเปล่าไอ้กีฬาที่วิ่งควายอะไรเนี่ย ทำไมมีตามสะเก็ตข่าวบ่อยจังตอนเเรกนึกว่ากีฬาเเปลกที่คิดกันเอาเองเเต่ท ี่ไหน มันเป็นยิ่งกว่ากีฬาครับเพราะ จัดได้ว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาช้านานเเล้วครับพี่น้อง ลองอ่านกันดูนะครับผมว่าน่าสนครับ เพราะความเนี่ยไม่ได้โง่
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรีมีอยู่แห่งเดียวในเมืองไทย เมื่อใกล้เทศกาลออกพรรษาครั้งใดก็แสดงว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการไถหว่านได้ผ่าน พ้นไปแล้ว ถึงเวลาที่บรรดาชาวไร่ชาวนา จะได้มีโอกาสหยุดพักผ่อน เพื่อรอคอยเวลาที่ผลผลิตจะตกดอกออกรวงและก็เป็นเวลาที่วัวควายจะได้พัก เหนื่อยเสียทีหลังจากที่ถูกใช้งานมาอย่างหนัก
ใน วันงาน ชาวไร่นาจะหยุดงานทั้งหมด และจะตกแต่งควายของตนอย่างสวยงามด้วยผ้าแพรพรรณ และลูกปัดสีต่างๆ และจะนําควายมาชุมนุมกันที่ตลาด พร้อมกันนั้นก้จะนําผลิตผลของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้านตลาดพร้อมๆ กัน เมื่อจับจ่ายขายสินค้าซื้อหาของต้องประสงค์เสร็จแล้ว ต่างคนต่างก็ถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน บ้างก็จูงควายเข้าเที่ยวตลาด บ้างก็ขึ้นขี่ควายวิ่งไปรอบๆตลาดด้วยความสนุกสนาน จนกลายมาเป็นประเพณีการแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น
และจากการที่ชาวไร่ชาวนาต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาควายของตนอย่างสวยงาม นี่เอง ทําให้เกิดการประกวดประชันความสวยงามของควายกันขึ้น พร้อมๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย
ปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดในวันขึ้น 14 คํ่า เดือน 11 อําเภอบ้านบึง จัดในวันขึ้น 15 คํ่า เดือน 11 ตลาดหนองเขิน อําเภอบ้านบึง จัดในวันแรม 1 คํ่า เดือน 11 วัดดอนกลาง ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จัดวิ่งควายในวันทอดกฐินประจําปีของวัด
ในวันนี้นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย และประกวดสุขภาพของควายแล้ว ยังมีการ "สู่ขวัญควาย" หรือทําขวัญควายไปในตัวอีกด้วย
แม้ปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศจะหันมาใช้เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็ก ช่วยผ่อนแรงในการทํานาแล้วก็ตาม แต่ชาวชลบุรีก้ยังคงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่ เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย
ที่มา ::ของประเพณีวิ่งควาย
มีที่มาจากเหตุการณ์ที่ควายของ ชาวบ้านที่เลี้ยงไว้เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ล้มตายโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น มีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินทางผ่านมาได้แนะนำให้ชาวบ้านจัดพิธีบูชาเทพเจ้า ประจำเมืองขึ้น ชาวบ้านจึงร่วมมือกันจัดพิธี ขอให้เทพเจ้าประจำเมืองช่วยให้ควายหายป่วย เมื่อควายหายป่วย ชาวบ้านจึงนำควายมาวิ่งเพื่อเป็นการแก้บน หลังจากสิ้นฤดูการเพาะปลูกเป็นประจำทุกปี
ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ
ระหว่างที่รอเจ้าของควายจะนำควายของตนไปอาบน้ำที่สระภายในวัด เมื่อต่างคนต่างก็พาควายไปอาบน้ำ จึงเกิดมีการแข่งขันประลองฝีเท้าควายขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานและเพื่อทดสอบความแข็งแรงของควาย เกิดเป็นประเพณีวิ่งควายอันขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีที่โด่งดังไปไกลถึงต่าง ประเทศ
การแข่งขันวิ่งควายในระยะแรกเป็นเพียงการบังคับให้ควายขณะวิ่งในระยะที่ กำหนด โดยคนขี่ห้ามตกจากหลังควาย ก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นการวิ่งควายในปัจจุบันที่มีการตกแต่ง ควายอย่างสวยงาม อาทิ การแต่งตัวควายด้วยผ้าหลากสีสัน หรือไม่ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากมาย และมีอยู่ ครั้งหนึ่ง ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับชาวชลบุรีว่า ในปีหนึ่งชาวชลบุรีไม่ได้จัดงานวิ่งควายบ้านของชาวบ้านได้เกิดไฟไหม้ และชาวบ้านได้ฝันว่า มีเทพ องค์หนึ่ง ได้บอกกับชาวบ้านว่าถ้าไม่จัดอีกจะมีการเกิดไฟไหม้ขึ้นอีก
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา 1 วัน เป็นประเพณีที่เป็นมรดกตกทอดมา แต่บรรพชนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อน จากงานในท้องนา เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า หากปีใดไม่มีการ วิ่งควายปีนั้นควายจะเป็นโรคระบาดกันมาก เพื่อแสดงรู้คุณต่อควายซึ่งเป็นสัตว์ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพทำนา และเพื่อให้ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์กัน ส่วนใหญ่จัดงานในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และอำเภอบ้านบึง เดิมมีแต่คนใน ท้องถิ่นรู้จัก แต่ในปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำจังหวังชลบุรี ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งชาวไทยและชาวต่าง
ในอดีตประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีวิ่งควายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ทางไสยศาสตร์ที่ว่า ถ้าควายของใครเจ็บป่วย เจ้าของควายควรจะนำควายของตน ไปบนกับเทพารักษ์ และเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำความมาวิ่งแก้บน ฉะนั้น ในปีต่อ ๆ มาชาวบ้านก็นำควายของตนมาวิ่งเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเสียแต่เนิ่น
ส่วนความเชื่อในทางศาสนาพุทธนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกัน ที่วัดใหญ่อินทาราม จังหวัด ชลบุรี เพื่อนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกียวนมาพักที่วัด เพื่อจะรอการติดกันเทศน์ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ ขณะที่รอเด็กเลี้ยงควายต่างก็ นำควายของตนไปอาบน้ำที่สระบริเวณวัด เมื่อต่างคนต่างพาควายของตนไปก็เกิดมี การประลองฝีเท้าควายเกิดขึ้น เพื่อทดสอบสุขภาพความแข็งแรงกัน การแข่งขันใน ระยะแรก ๆ จึงเป็นเพียงการบังคับควายขณะวิ่งในระยะที่กำหนดและห้ามตก จากหลังควาย ต่อมาจึงเชื่อว่าการวิ่งควายได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีการวิ่งรอบตลาด เมื่อถึงเทศกาลก่อนออกพรรษา 1 วัน ชาวบ้านร้านตลาดต่างก็จะรอดูควายที่มาวิ่งมีการ ตกแต่งควาย ให้สวยงามและวิจิตรบรรจงมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณีวิ่งควาย
ส่วนขั้นตอนการวิ่งควายในปัจจุบันเจ้าของควาย จะตกแต่งควายอย่างงดงาม ด้วยผ้าแพรพรรณ ดอกไม้หลากสี ตัวเจ้าของควายก็แต่งตัวอย่างงดงามแปลกตา เช่น แต่งเป็นชาวเขา ชาวอินเดียแดงหรือตกแต่งด้วยเครื่องทองประดับเพชรเหมือนเจ้าชาย ในลิเก ละครที่แปลกตา แล้วนำควายมาวิ่งแข่งกัน โดยเจ้าของเป็นผู้ที่ขี่หลังควายไปด้วย ความ สนุกอยู่ที่ท่าทางวิ่งควายที่แปลกบางคนขี่ก็ลื่นไหลตกลงมาจากหลังควายและคน ดู จำนวนมากจะส่งเสียงกันดังอย่างอื้ออึง และมีการเพิ่มประกวดสุขภาพควาย ประกวด การตกแต่งควายทั้งสวยงาม และตลกขบขัน
มีการประกวดน้องนางบ้านนา ทำให้ ประเพณีวิ่งควายมีกิจกรรมมากขึ้น ชาวเกษตรกรรมต่างก็พอใจกัน พืชพันธุ์ธัญญาหาร ในไร่กำลังตกดอกออกรวง จึงคำนึงถึงสัตว์ เช่น วัว ควาย ที่ได้ใช้งานไถนาเป็นเวลา หลายเดือน ควรจะได้รับความสุขตามสภาพบ้าง จึงต่างตกแต่งวัว ควายของตนให้สวยงาม บรรดาเกษตรกรมีการสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนมีการประกวดความ สมบูรณ์ของวัวและควายที่เลี้ยงกัน เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ทุกคนจะต้อง หยุดงานไปวัดในวันพระ ประเพณีวิ่งควายไม่ใช่เรื่องไร้สาระเป็นเรื่องที่แฝงไว้ด้วย ความสามัคคีธรรม คนโบราณของเราเป็นคนที่ตระหนักในความกตัญญูกตเวทิตาคุณ และมีความเมตตาธรรมสูง เห็นวัวควายทำงานให้กับคน เป็นสัตว์ที่มีคุณแก่ชีวิตจึง สืบทอดประเพณีนี้ตลอด
อ้างอิง
จากหนังสือตำนานว่าวไทย
เขียนโดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง)
เขียนโดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง)
ว่าวเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของ
ประเทศ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราคาก็ไม่แพงมากนัก หรือถ้าสามารถทำเองได้ยิ่งประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะวัสดุที่ใช้ทำก็เป็นวัสดุพื้นบ้าน
ที่หาได้ง่าย แต่การทำต้องมีทักษะว่าวจึงจะขึ้นได้ดี เรียกว่าติดลม การเล่นว่าวมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มิได้เป็นการเล่นเพียงแต่สนุกสนาน
เหมือนกับปัจจุบันนี้เท่านั้น มีประวัติและความเป็นมาที่น่าสนใจของตำนานว่าวไทย
|
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ว่าวมิได้ใช้เฉพาะเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่มีการใช้ว่าวในการสงคราม คือตอนที่พระยายมราช (สังข์)
เจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นกบฎ พระเพทราชาสั่งกองทัพไปปราบเมืองไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 2 แม่ทัพอยุธยาคิดเผาเมืองอุบายหนึ่งนั้นใช้หม้อ
ดินบรรจุดินดำผูกสายป่านว่าวจุฬาไปถึงหม้อดินดำระเบิดตกไปไหม้บ้านเมืองจาก ประวัติศาสตร์ตอนนี้ปรากฏเป็นชื่อว่าวจุฬาเป็นครั้งแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น